The Power to Save Lives Health ติดหวานนั้นอร่อย แต่บ่อยๆ ไม่ดีนะ

ติดหวานนั้นอร่อย แต่บ่อยๆ ไม่ดีนะ


สัญญาณอันตรายที่บอกว่าคุณกำลัง ติดหวาน

รสชาติแห่งความหอมหวานเป็นสิ่งที่ใครหลายคนหลงไหลและดื่มด่ำกับการได้กินขนมหวานต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นขนมเค้ก คุกกี้ โดนัท ไอศครีมหรือแม้กระทั้งเครื่องดื่มสุดฮิตอย่างชานมไข่มุก ล้วนแล้วแต่มีรสชาติที่หวานติดปากทั้งสิ้น  ในปัจจุบันหลายๆ ท่านที่เริ่มหันมาใส่ใจกับการดูแลสุขภาพในเรื่องของการลดน้ำหนักก็ดี ลดความเสี่ยงต่อโรคต่างๆ ก็ด้วย ซึ่งพื้นฐานของการดูแลสุขภาพต่างๆ มักจะลงเอยที่การดูแลการกินอาหารเป็นอันดับแรกๆ เสมอ  และเจ้ารสชาติแห่งความหวานนี้ ส่งผลเสียต่อร่างกายของเราอย่างไร กินไม่ควรเกินเท่าไหร่ ติดหวานแล้วอ้วนจริงหรือไม่? มีทางเลือกในการลดอาการติดหวานได้หรือปล่าว ในบทความนี้จะพาเหล่าท่านผู้รักและริเริ่มที่จะดูแลสุขภาพของตนเองไปพบกับคำตอบกันครับ

ติดรสหวานทำให้อ้วนได้อย่างไร ?

อาหารรสหวานมีน้ำตาลเป็นส่วนประกอบหลักซึ่งทำหน้าที่ในการให้พลังงานต่างๆ แก่ร่างกายแต่ไม่สารอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกายเลย ในเวลาที่เรารับประทานของหวานเข้าไปนั้น ร่างกายจะรู้สึกสดชื่นกระปรี๊กระเปราเนื่องจากพลังงานจากน้ำตาลนั้นถูกดูดซึมผ่านกระแสเลือดได้ง่ายเช่นเดียวกับน้ำ นอกจากนี้น้ำตาลหรือพลังงานส่วนเกินจากที่ร่างกายต้องการ จะถูกเก็บสะสมในรูปแบบของไขมันสะสมไปตามส่วนต่างๆ ของร่างกายและผนังหลอดเลือด ทำให้ร่างกายอวบอ้วนเสี่ยงต่อโรคต่างๆ ได้ นอกจากนี้แล้วน้ำตาลยังมีส่วนทำให้ผิวหนังแห้ง เกิดริ้วรอยได้ง่ายอีกด้วย

ร่างกายสามารถรับน้ำตาลได้วันเท่าไหร่ ?

จากข้อมูลขององค์การอนามัยโลกระบุไว้ว่า ปริมาณน้ำตาลที่คนเราสามารถรับประทานได้นั้น ไม่ควรเกินร้อยละ 10  ของปริมาณอาหารหรือพลังงานทั้งหมดที่ได้รับในแต่ละวัน ยกตัวอย่างเช่น นาย ก. รับประทานอาหารที่ให้พลังงานรวมทั้งหมด 1600 กิโลแคลลอรี่ ปริมาณน้ำตาลที่สามารถรับประทานได้นั้นก้คือ ไม่เกิน 4 ช้อนชา นั้นเอง

เราจะหลีกเลี่ยงอาหารที่มีปริมาณน้ำตาลสูงได้อย่างไรบ้าง ?

ในปัจจุบันมีการใส่ในเรื่องของปริมาณน้ำตาลในอาหารกันอย่างแพร่หลาย และมีการระบุปริมาณน้ำตาลอยู่บนฉลากสำหรับผู้บริโภคเพื่อให้ทุกๆ ท่านสามารจัดแจงดูแลควบคุมปริมาณน้ำตาลของตนเองได้อย่างง่ายดาย  นอกจากนี้ยังมีผลิตภัณฑ์ที่ให้ความหวานเทียมแต่ไม่ให้พลังงาน ตัวอย่างเช่น เครื่องดื่ม 0 แคลลอรี่   กาแฟไม่ใส่น้ำตาลใช้หญ้าหวานที่มีคุณสมบัติใกล้เคียงกับน้ำตาลแต่เป็นมิตรต่อร่างกาย หรือท่านอาจจะเลือกปรุงอาหารเพื่อรับประทานเองโดยการปรุงที่น้อยที่สุดและลดการบริโภคอาหารจำพวกคาร์โบไฮเดรตที่หลังจากผ่านกระบวนการย่อยแล้วก็ยังแปรสภาพเป็นน้ำตาลได้เช่นกัน

ตัวอย่างประเภทอาหารที่มีระดับน้ำตาลสูง ?

อาหารที่มีระดับน้ำตาลสูงมีนอกจากขนมหวานและเครื่องดื่มที่มีน้ำตาลแล้ว อาหารจำพวกแป้งหรือคาร์โบไฮเดรตก็เป็นอาหารอีกประเภทหนึ่งที่เมื่อผ่านกระบวนการย่อยแล้วทำให้เกิดน้ำตาลในภายหลัง สามารถยกตัวอย่างอาหารที่มีระดับน้ำตาลสูงได้ดังต่อไปนี้

1. ไอศครีมหลากรสเพียง 1 โคน มีน้ำตาลมากถึง 6 ช้อนชา
2. ขนมเค้ก 1 ชิ้น มีปริมาณน้ำตาลมากถึง 5 ช้อนชา
3. กาแฟใส่นมแบบหวานปกติ 1 แก้ว มีปริมาณน้ำตาลถึง 7 ช้อนชา
4. น้ำอัดลม 1 กระป๋อง แบบ Original มีปริมาณน้ำตาลถึง 8 ช้อนชา
5. ชานมไข่มุก 1 แก้ว มีปริมาณน้ำตาลมากถึง 11 ช้อนชา

นี่เป็นเพียงแค่ตัวอย่างส่วนนึงของอาหารที่มีปริมาณน้ำตาลสูงและคนไทยนิยมบริโภคกัน เมื่อท่านได้ทราบถึงปริมาณน้ำตาลกันแล้ว เราหวังว่าท่านจะรับประทานอาหารเหล่านี้กันอย่างพอดีนะครับ

ต้องออกกำลังกายมากเพียงใดถึงจะขจัดพลังงานส่วนเกินออกไปได้ ?

นอกจากการควบคุมการกินอาหารและลดของหวานแล้ว สิ่งที่จำเป็นอีกอย่างนึงนั้นก็คือ การออกกำลังกาย ซึ่งต้องออกเป็นเวลาอย่างน้อย 30 นาที เพื่อการเผาผลาญพลังงานที่ดีและไม่หักโหมจนเกินไปครับ