The Power to Save Lives Health โซเดียมในอาหารส่งผลเสียต่อสุขภาพอย่างไร ?

โซเดียมในอาหารส่งผลเสียต่อสุขภาพอย่างไร ?


โซเดียมในอาหารส่งผลเสียต่อสุขภาพอย่างไร

อาหารมีมากมายหลายประเภท หลากรสชาติ อาทิเช่น อาหารรสจัดเผ็ดร้อน อาหารที่มีรสจืด อาหารที่มีรสหวานหรืออาหารที่มีรสเค็ม เป็นต้น ซึ่งการเลือกบริโภคอาหารแต่ละประเภทนั้น ขึ้นอยู่กับความชอบส่วนบุคคล แต่คุณทราบหรือไม่ว่าการบริโภคอาหารที่มีรสหวานหรือเค็มมากเกินไป อาจส่งผลเสียต่อสุขภาพของคุณได้  และต้องยอมรับกันเลยว่า พฤติกรรมการบริโภคอาหารของคนไทยนั้นติดอาหารรสจัดและรสเค็มเป็นอย่างไรมาก ในบทความนี้เราจะพาทุกๆ ท่านไปสำรวจผลเสียของการบริโภคอาหารที่มีรสจัดในแบบต่างๆ อย่างอาหารรสเค็มจัด(มีโซเดียมสูง)รวมไปถึงการดูแลการกินอาหารที่ถูกต้องให้ท่านทราบกันครับ

โซเดียมคืออะไร ?

โซเดียม คือ สารอาหารที่ช่วยควบคุมความสมดุลของเหลวภายในร่างกาย ช่วยรักษาความดันโลหิตให้อยู่ในระดับที่ปกติ ช่วยในการทำงานของประสาท และกล้ามเนื้อ และยังช่วยดูดซึมสารอาหารบางอย่างในไต และลำไส้เล็กอีกด้วย

ผลเสียของการบริโภคอาหารที่มีรสเค็มหรือมีโซเดียมสูงมีอะไรบ้าง ?

การบริโภคอาหารที่มีโซเดียมสูง ก่อให้เกิดความเสี่ยต่อโรคไต โรคความดันโลหิตสูงและโรคร้ายอื่นๆ อีกมากมาย ซึ่งโดยปกติแล้ว เราไม่ควรบริโภคโซเดียมเกิน 2,000 มิลลิกรัมต่อวัน นั้นเอง  หลายท่านอาจยังไม่ทราบว่าอาหารที่ท่านชื่นชอบและรับประทานอยู่เป็นประจำ มีค่าโซเดียมอยู่ปริมาณเท่าไหร่และสูงเกินค่ามาตราฐานที่ร่างกายรองรับได้หรือปล่าว ทั้งนี้เราสามารถยกตัวอย่างอาหารที่มีค่าโซเดียมสูงเพื่อใช้เป็นข้อมูลประกอบการเลือกบริโภคได้ดังนี้ครับ
– อาหารตากแห้ง เนื่องจากมีการใช้เกลือทาบนชิ้นเนื้อเพื่อรักษาอาหารจึงให้มีโซเดียมสูง เช่น ปลาเค็ม หมูแดดเดียว เป็นต้น
– อาหารดอง เนื่องจากมีการใช้เกลือเป็นส่วนผสมในการดอง จึงทำให้มีโซเดียมสะสมสูง เช่น ไข่เค็ม เป็นต้น
ซอสปรุงรสต่างๆ ที่ผ่านกระบวนการหมัก เช่น น้ำปลา น้ำปลาร้า
– อาหารทอด เช่น เฟรนฟราย ไก่ทอด หมูหมักทอด เป็นต้น
อาหารจำพวกแปรรูป เช่น หมูยอ หมูหยอง ไส้กรอก แหนม ลูกชิ้น รวมไปถึงอาหารกระป๋องชนิดต่างๆ
อาหารสำเร็จรูปอย่างมาม่า บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป โจ๊กหรือข้าวต้มสำเร็จรูป ข้าวกล่องแช่แข็ง เป็นต้น
– ขนมที่ใส่ผงฟู เช่น เค้ก คุกกี้ ขนมปัง เป็นต้น
และนี้เป็นเพียงส่วนหนึ่งเท่านั้น นอกจากนี้ยังมีอาหารอีกหลากหลายอย่างที่มีค่าโซเดียมสูงโดยที่เราไมกล่าวถึง เพราะฉะนั้นแล้วเราควรเลือกรับประทานอาหารเพื่อสุขภาพที่ดีกันนะครับ

วิธีเลี่ยงอาหารที่มีโซเดียมสูงทำอย่างไร ?

การเลี่ยงการบริโภคอาหารที่มีปริมาณโซเดียมสูง สามารถทำได้หลายวิธี ซึ่งมีดังต่อไปนี้
1.หลีกเลี่ยงอาหารประเภทที่มีการปรุงรสด้วยผงชูรสและซอสปรุงรสที่มีส่วนประกอบของโซเดียม
2.เลือกวิธีการปลุกอาหารด้วยการไม่ใช้น้ำมัน ใช่วิธีอบหรือย่าง ปรุงรสและหมักอาหารด้วยเครื่องปรุงที่น้อยที่สุด
3.ไม่รับประทานอาหารจำพวกอาหารแปรรูปมากเกินไป
4. หากกินอาหารนอกบ้าน ให้หลีกเลี่ยงอาหารรสจัด
5.หลีกเลี่ยงการกินขนมหวานที่มีส่วนผสมของโซเดียม เช่น คุกกี้ เค้ก ชีสเค้ก พาย เป็นต้น

อาหารที่มีโซเดียมสูงที่สุดคืออะไร ?

จากข้อมูลสมาคมเพื่อโรคไตแห่งประเทศไทยร่วมกับเครือข่ายลดบริโภคเค็มได้ทำการสำรวจข้อมูลไว้ว่า “อาหารแช่แข็ง” เป็นกลุ่มอาหารที่มีโซเดียมเยอะที่สุด โดยมีสุ่มสำรวจอาหารจากร้านสะดวกซื้อ ได้แก่

  1. ข้าวคลุกน้ำพริกกะผิปลาทู ของ อีซี่โก ปริมาณโซเดียม 1,390 มิลลิกรัม
  2. ผัดไทยกุ้งสด ของ อีซี่โก ปริมาณโซเดียม 1,360 มิลลิกรัม
  3. ผัดไทยกุ้งสด ของ มาย ช้อยส์ ปริมาณโซเดียม 1,310 มิลลิกรัม
  4. ยากิโซบะหมู ของ อีซี่โก ปริมาณโซเดียม 1,290 มิลลิกรัม
  5. ข้าวผัดคะน้าปลาเค็ม ของ อีซี่โก ปริมาณโซเดียม 1,280 มิลลิกรัม
  6. เกี๊ยวน้ำกุ้ง ของ อีซี่โก ปริมาณโซเดียม 1,020 มิลลิกรัม
  7. ข้าวต้มหมูสับ ของ ท็อปส์ ปริมาณโซเดียม 990 มิลลิกรัม
  8. เกี๊ยวน้ำหมู ของ บิ๊กมีล ปริมาณโซเดียม 940 มิลลิกรัม
  9. ข้าวต้มปลากะพง ของ ท็อปส์ ปริมาณโซเดียม 920 มิลลิกรัม
  10. ข้าวต้มหมู ของ อีซี่โก ปริมาณโซเดียม 840 มิลลิกรัม

เป็นอย่างไรกันบ้างครับกับข้อมูลเกี่ยวกับโซเดียมในอาหารที่ส่งผลต่อสุขภาพของทุกๆ ท่านได้อย่างไม่น่าเชื่อและไม่ใช่เรื่องไกลตัวเลย เราหวังว่าทุกๆ ท่านจะนำเกร็ดความรู้ต่างๆ นี้ ไปใช้การเลือกบริโภคอาหารเพื่อสุขภาพดีของท่านต่อไปในอนาคตครับ